วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558

Gartner : Top 10 Strategic IT Trends 2015

ในทุกปี ช่วงปลาย ๆ ปี อย่างนี้ สำนักวิจัย Gartner จะเผยแพร่ผลวิเคราะห์ 10 สุดยอดแนวโน้มเทคโนโลยีที่เป็นกลยุทธ์ของปี 2015 ซึ่งในปีนี้ Gartner แบ่งเทรนด์ทั้งสิบออกเป็น 3 หมวดหมู่ใหญ่ๆ คือ Merging the Real World and the Virtual World, Intelligence Everywhere และ The New IT Reality Emerges โดยมีเรื่องต่าง ๆ ที่น่าสนใจดังนี้


1) Computing Everywhere: ด้วยการใช้งานอุปกรณ์มือถือ smartphone ยังคงมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย Gartner คาดการณ์ความสำคัญเพิ่มขึ้นในการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้มือถือในบริบท ที่หลากหลายและสภาพแวดล้อมที่เป็นตรงข้ามกับการมุ่งเน้นไปที่อุปกรณ์เพียง อย่างเดียว

2) The Internet of Thing (IoT): หรืออินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง ซึ่งการเติบโตอย่างต่อเนื่องของอุปกรณ์จะทำให้เกิดข้อมูลที่มากขึ้น และก็มีบริการต่างๆเพิ่มมากขึ้นตาม โดย Gartner มองว่ามันก่อให้เกิดโมเดลการใช้งานข้อมูลเหล่านี้อยู่ด้วยกัน 4 แบบ
Manage: คือการบริหารจัดการอุปกรณ์ต่างๆ
Monetize: คือการหารายได้จากการใช้งานสินค้าหรือบริการ
Operate: คือการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาควบคุมสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัว
Extend: คือการขยายการให้บริการแก่สินค้าหรือบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต

3) 3D Printing: Gartner คาดการณ์ว่า ตลาดการพิมพ์สามมิติในปี 2015 จะโตขึ้นถึง 98% และมีการจำหน่ายเครื่องพิมพ์สามมิติเพิ่มเป็นสองเท่า และจะมีจำนวนเป็นสามเท่าในอีกสามปีข้างหน้า โดยเครื่องก็จะมีราคาถูกลง จะถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ มากขึ้น ทั้งอุตสาหกรรมชีวการแพทย์ และการใช้งานของผู้บริโภคจะยังคงแสดงให้เห็นว่าการพิมพ์ 3D จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการออกแบบหรือการพัฒนาอุปกรณ์ต้นแบบ

4) Advanced, Pervasive and Invisible Analytics: การวิเคราะห์จะกลายเป็นเรื่องสำคัญเพราะเราจะมีปริมาณของข้อมูลที่เพิ่มมาก ขึ้น ทั้งข้อมูลที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง แอพพลิเคชั่นต่างๆ ก็ต้องมีระบบที่มีความสามารถด้านการวิเคราะห์อยู่ด้วย และองค์กรก็ต้องเตรียมรองรับกับข้อมูลมหาศาลที่จะมาจาก IoT, Social Media และ อุปกรณ์ Wearable ซึ่งการวิเคราะห์จะมีความสำคัญในการจะหาคำตอบต่างๆ มากกว่าเป็นเพียงแค่ Big Data เท่านั้น

5) Context-Rich Systems: Gartner ได้กล่าวถึง Ubiquitous embedded intelligence ซึ่งจะเป็นการพัฒนาระบบต่างๆ ที่รอบรู้ จะเป็นระบบที่สามารถแจ้งเตือนและคาดการณ์เรื่องต่างๆ ที่อยู่รอบตัวได้ล่วงหน้า ทั้งยังสามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสม อาทิเช่นระบบ Context-Aware Security

6) Smart Machines: Gartner ก็กล่าวถึงยุคของ smart machine ที่จะมาถึงนี้ก็จะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ด้วยบริบทด้านปัจจัยพื้นฐานของ Smart Machine และวิธีการขั้นสูง จะทำให้เริ่มมีการพัฒนาต้นแบบไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ไร้คนขับ, หุ่นยนต์ล้ำสมัยที่ก้าวหน้าขึ้น หรือผู้ช่วยอัจฉริยะเสมือนจริง จะถูกพัฒนาต่อยอดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเข้าสู่ยุคของผู้ช่วยที่เป็นจักรกล ซึ่งเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ไอทีไปอย่างสิ้นเชิง

7) Cloud/Client Architecture: การผนวกเข้ากันของเทคโนโลยีคลาวด์ (Cloud) กับอุปกรณ์พกพา (Mobile) จะกระตุ้นการเติบโตของซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่ประสานงานจากส่วนกลาง โดยฝั่ง Client จะเป็น Rich Application ที่ทำงานบนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต เช่นอุปกรณ์พีซี smartphone หรือ Tablet ส่วนฝั่งของ Server ก็จะเป็น Applications หลากหลายที่ทำงานอบู่บนระบบ Cloud Computing ที่ยืดหยุ่น และพร้อมที่จะรองรับผู้ใช้จำนวนมากได้ นอกจากนี้ความต้องการการใช้งานฝั่ง Client ผ่านอุปกรณ์โมบายจะยิ่งทำให้ระบบ Server และ Storage มีขนาดใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ ผู้พัฒนา Application ก็ต้องต้องเตรียมรองรับกับผู้ใช้จำนวนมากจากอุปกรณ์ที่มีหน้าจอที่หลากหลาย และจะต้องสามารถ sync ข้อมูลของ App ในทุกๆอุปกรณ์ได้

8) Software Defined Infrastructure and Applications: ต่อไปเราจะเห็นการเขียนโปรแกรมที่มีความยืดหยุ่น (Agile Programming) สำหรับทุกๆ อย่างตั้งแต่การเริ่มพัฒนา Application ไป จนถึงการทำโครงสร้างพื้นฐาน ที่จะมีเรื่องของ Software-defined networking, storage, data centers และ security โดยจะมี
การใช้ Application Programming Interface (APIs) ที่สามารถเชื่อมต่อเพื่อเข้าถึงข้อมูล โดยระบบเหล่านี้สามารถใช้งานผ่านบริการที่อยู่บน Cloud ได้

9) Web-Scale IT: การให้บริการไอทีกำลังจะเปลี่ยนไป เพราะมีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก เช่น Facebook, Amazon และ Google ทำให้ศูนย์ข้อมูลขององค์กร
ต่างๆ ต้องออกแบบระบบที่จะรองรับผู้ใช้จำนวนมาก ที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วได้ ดังนั้นในอนาคตเราอาจจะเห็นองค์กรต่างๆ มาใช้ระบบ Cloud มากขึ้น

10) Risk-Based Security and Self-Protection: สุดท้าย Gartner ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องของระบบความปลอดภัย Gartner เชื่อว่าไม่มีระบบองค์กรใดปลอดภัยหรือป้องกันได้ 100% ดังนั้นการประเมินความเสี่ยงและการใช้กระบวนการและเครื่องมือในการลดความ เสี่ยงจะเป็นเรื่องที่สำคัญ ในมุมทางเทคนิคการออกแบบ Application ที่มีการป้องกันความปลอดภัยอยู่ในตัวจะมีความสำคัญยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น